ชีวสารสนเทศศาสตร์เบื้องต้น

โดย วิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์

เกี่ยวกับรายวิชา

  ชีวสารสนเทศศาสตร์ (bioinformatics) คือการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ทำให้เข้าใจหน้าที่และการทำงานของยีน นำไปสู่การประยุกต์ใช้ที่หลากหลาย ได้แก่ การแพทย์ เช่น การตรวจโรคจากความผิดปกติของยีน  การเกษตร เช่น การค้นหายีนที่ทำให้พืชและสัตว์มีลักษณะที่พึงประสงค์และ เทคโนโลยีชีวภาพ เช่น การศึกษายีนที่สร้างโปรตีนที่มีประโยชน์ ชีวสารสนเทศศาสตร์จึงเป็นทักษะความรู้ที่บุคคลทั่วไปสามารถเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ และทำให้เข้าใจความก้าวหน้าทางวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ โดยทั่วไปวิชานี้จะเป็นวิชาเรียนในระดับปริญญาตรีสำหรับนักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ อย่างไรก็ตาม นักเรียนในระดับมัธยมศึกษา ควรได้มีโอกาสเรียนด้านนี้ ในต่างประเทศได้จัดการสอนเรื่องนี้ในระดับมัธยมศึกษา ตัวอย่างเช่น ข้อสอบโอลิมปิกวิชาการสาขาชีววิทยา ในระดับนานาชาติ มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง    กับชีวสารสนเทศศาสตร์การเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนวิชาชีวสารสนเทศศาสตร์ระดับเบื้องต้นจะทำให้เข้าใจการใช้ประโยชน์และจากความรู้พันธุศาสตร์มากขึ้น อาจช่วยสร้างความสนใจการศึกษาด้านนี้และเลือกเรียนในสาขานี้มากขึ้นในระดับปริญญาตรีซึ่งประเทศไทยต้องการบุคลากรที่มีความสามารถด้าน        ชีวสารสนเทศศาสตร์อีกจำนวนมากเพื่อรองรับแผนการพัฒนาประเทศที่อาศัยความรู้ด้านพันธุศาสตร์ เช่น โครงการ Genomics Thailand (ศึกษาพันธุกรรมคนไทย เพื่อการแพทย์แบบแม่นยำ) บทเรียนใน PSU MOOC ที่จะพัฒนานี้ ผู้ขอทุนจะทำให้เป็นบทเรียนที่เข้าใจง่ายปูพื้นฐานความรู้สำหรับนักเรียนในระดับมัธยม สามารถศึกษาตามได้โดยใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เนตที่ผู้เรียนมีอยู่แล้วโดยจะใช้กรณีศึกษาที่หลากหลายให้ผู้เรียนได้ทดลองฝึกปฏิบัติตามเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับชีวสารสนเทศศาสตร์เบื้องต้นได้ 

คำอธิบายรายวิชาอย่างย่อ

  1. ชีวสารสนเทศศาสตร์และการใช้ประโยชน์
  2. การเข้าถึงข้อมูลพันธุกรรมในฐานข้อมูลสากล (NCBI, UniProt) และการดาวน์โหลดและจัดเก็บข้อมูล
  3. การเปรียบเทียบความเหมือน/แตกต่างของข้อมูลพันธุกรรมด้วยวิธี Alignment
  4. การค้นหายีนในฐานข้อมูลด้วยวิธีการ BLAST (Basic Local Alignment Search Tool) และการประยุกต์
  5. การทำนายโครงสร้างและหน้าที่ของโปรตีนโดยใช้โปรแกรมอย่างง่าย

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

LO1 : ผู้เรียนสามารถอธิบายการใช้ประโยชน์จากชีวสารสนเทศศาสตร์ได้ถูกต้อง

LO2 : ผู้เรียนสามารถค้นหายีนในฐานข้อมูลพันธุกรรม NCBI และ UniProt                      แล้วจัดเก็บข้อมูลได้ถูกต้อง 

LO3 : ผู้เรียนสามารถอธิบายความผิดปกติของยีนที่ทำให้เกิดโรคได้โดยเปรียบ                เทียบความเหมือน/แตกต่าง ของข้อมูลพันธุกรรมด้วยวิธี Alignment

LO4 : ผู้เรียนสามารถระบุชนิดสิ่งมีชีวิตจาก DNA ได้ โดยค้นหายีนในฐานข้อมูล              ด้วยวิธีการ BLAST 

LO5 : ผู้เรียนสามารถทำนายโครงสร้างและหน้าที่ของโปรตีนโดยใช้โปรแกรม                   อย่างง่ายได้

เกณฑ์การวัดและประเมินผลในรายวิชา

อาจารย์ผู้สอน

Picture1

ดร.ปฐมฤกษ์ อิงสันเทียะ

สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์

Creative commons สัญญาอนุญาตสิทธิ์

“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของ PSU lifelong และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”