นักสืบโรคสัตว์ กับอาวุธจุลทรรศน์

เกี่ยวกับรายวิชา

     ภาพรวมของกระบวนการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาในสัตว์เลี้ยง ความสำคัญของการตรวจเซลล์และเนื้อเยื่อ การเก็บตัวอย่างโดยสัตวแพทย์และเจ้าของสัตว์ ขั้นตอนและกระบวนการสืบจากชิ้นเนื้อ การตอบสนองทางร่างกายสัตว์ที่พบบ่อยทางพยาธิวิทยา ประเภทความเจ็บป่วยที่เหมาะสมกับการตรวจทางพยาธิวิทยาระดับเซลล์ ก้อนเนื้อและมะเร็งที่พบบ่อยทางพยาธิวิทยาสัตวแพทย์

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

LO1 :  ผู้เรียนสามารถจดจำ (Remember) ขั้นตอนและกระบวนการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาในสัตว์เลี้ยง

LO2 :  ผู้เรียนสามารถเข้าใจ (Understand) ถึงความสำคัญ และภาพรวมของกระบวนการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาในสัตว์เลี้ยง

LO3 : ผู้เรียนสามารถนำความรู้มาใช้ (Apply) เพื่อสร้างความร่วมมือในการตรวจวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา

LO4 : ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ (Analyze) ประเภทของรอยโรคจากการตอบสนองของร่างกายสัตว์ และอธิบาย(Explain) กระบวนการตอบสนองเหล่านั้นได้

LO5 : ผู้เรียนสามารถประเมิน (Evaluate) และระบุความเจ็บป่วยที่เหมาะสมกับการตรวจทางพยาธิวิทยาระดับเซลล์ได้

เกณฑ์การวัดและประเมินผลในรายวิชา

อาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ นายสัตวแพทย์ วัชรพล สูยะโพธิ์

คณะสัตวแพทยศาสตร์

Creative commons สัญญาอนุญาตสิทธิ์

“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของ PSU lifelong และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”