เทคโนโลยีทางการสืบพันธุ์เพื่อเพิ่มผลผลิตในสัตว์เคี้ยวเอื้อง
โดย คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เกี่ยวกับรายวิชา
กายวิภาค สรีรวิทยาของระบบสืบพันธุ์ในสัตว์เคี้ยวเอื้องเพศผู้และเพศเมียเบื้องต้น การปฏิสนธิ การตั้งท้อง การคลอด การรีดเก็บและการประเมินคุณภาพน้ำเชื้อเบื้องต้น การเหนี่ยวนำการเป็นสัด การผสมเทียม ขั้นตอนการผสมเทียม การย้ายฝากตัวอ่อน เทคโนโลยีทางระบบสืบพันธุ์อื่นๆที่สำคัญในสัตว์เคี้ยวเอื้อง วิธีการจัดการระบบสืบพันธุ์ที่สำคัญในฟาร์มสัตว์เคี้ยวเอื้อง
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
LO1 : ผู้เรียนสามารถมีความรู้เกี่ยวกับกายวิภาค สรีรวิทยา และการทำงานของระบบสืบพันธุ์ในสัตว์เคี้ยวเอื้องได้
LO2 : ผู้เรียนสามารถเข้าใจและอธิบายหลักการผสมพันธุ์ การปฏิสนธิ การเจริญเติบโตของตัวอ่อน และการตั้งท้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
LO3 : ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ ได้แก่ การจัดการผสมเทียม และการตรวจคุณภาพน้ำเชื้อ เพื่อเพิ่มผลผลิตในสัตว์เคี้ยวเอื้องได้
LO4 : ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ปัญหา และวางแผนการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบจากการจัดการระบบสืบพันธุ์ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง โดยใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพทางระบบสืบพันธุ์
LO5 : ผู้เรียนสามารถสังเคราะห์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการระบบสืบพันธุ์ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น การจัดการการคลอดในสัตว์เคี้ยวเอื้องได้ด้วยตนเอง อันเป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ
เกณฑ์การวัดและประเมินผลในรายวิชา
- Length
- Price
- Level
- Target Group
- How To Pass
- Certificate
- 15 ชั่วโมงการเรียนรู้
- ไม่มีค่าใช้จ่าย
- ขั้นกลาง
- นักเรียน นักศึกษา นักวิจัยด้านชีววิทยา
- ต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60
- มี