Humanities & Social / By THANWA JEHARWAE มารยาททางสังคมยุคดิจิทัล เกี่ยวกับรายวิชา ยุคดิจิทัล มีความเปลี่ยนแปลงในสังคมค่อนข้างมาก โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี ซึ่งประเทศไทยก้าวเข้าสู่ Thailand 4.0 อย่างเต็มตัวเมื่อไม่นานมานี้ กอปรกับปัญหาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ปัญหาสิ่งแวดล้อม และปัญหาโรคระบาดโควิด 19 ที่ผู้คนทั่วโลกกำลังเผชิญ ขณะเดียวกันมารยาททางสังคมที่จำเป็นกลับถูกละเลยเพิกเฉย ทั้ง ๆ ที่มีความสำคัญและจำเป็นกับการใช้ชีวิตประจำวัน (ส่วนตัว การเรียน การทำงาน) ที่สำคัญ ส่วนใหญ่มีความเชื่อที่ว่าเรื่องมารยาททางสังคมเป็นหน้าที่ของผู้ปกครองทางบ้านที่จะต้องบ่มเพาะปลูกฝังบุตรหลานด้วยตนเอง ทำให้ในสถาบันการศึกษามุ่งส่งเสริมทักษะความรู้ทางวิชาการและวิชาชีพ Hard skills เพื่อนำไปประกอบวิชาชีพ ซึ่งในทางปฏิบัติพบว่าผู้ปกครองต้องทำงานเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว เวลาที่จะอบรมบ่มเพาะมารยาททางสังคมจึงไม่มีเท่ากับสมัยก่อนที่มีปู่ยา ตายาย ช่วยเลี้ยงเด็ก ครอบครัวสมัยใหม่เป็นครอบครัวเดี่ยว (พ่อ แม่ ลูก) ความคาดหวังเรื่องมารยาททางสังคมจึงถูกผลักมาที่สถาบันการศึกษา ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นที่จะนำเสนอเรื่องมารยาททางสังคมยุคดิจิทัลเพื่อนำไปใช้สอนนักศึกษารายวิชาทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 (Life Skills in the 21st Century) ตลอดจนสำหรับผู้สนใจทั่วไปนำไปสอนบุตรหลานและเยาวชนเพื่อบ่มเพาะและปลูกฝั่งมารยาททางสังคมยุคดิจิทัลให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เก่ง ดี มีคุณธรรม และมีมารยาททางสังคมสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างปกติสุข วัตถุประสงค์การเรียนรู้ LO1 : ผู้เรียนมีความเข้าใจความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับมารยาททางสังคมยุคดิจิทัลLO2 : ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์มุมมองเกี่ยวกับมารยาททางสังคมยุคดิจิทัลLO3 : ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีกับกรณีศึกษามารยาททางสังคมยุคดิจิทัล เกณฑ์การวัดและประเมินผลในรายวิชา Length Price Level Target Group How To Pass Certificate 5 ชั่วโมงการเรียนรู้ ไม่มีค่าใช้จ่าย ขั้นพื้นฐาน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 มี Go To Course Register อาจารย์ผู้สอน ผศ.ดร.ประทุมทิพย์ ทองเจริญ รัฐประศาสนศาสตร์คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ Creative commons สัญญาอนุญาตสิทธิ์ “สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของ PSU lifelong และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”